ข้อคิดเห็นต่องบการเงิน

รับทำบัญชี.COM | การดําเนินงานต่อเนื่อง หมายเหตุประกอบในงบ?

ข้อควรพิจารณาในการจัดทำงบการเงิน การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ข้อควรพิจารณาในการจัดทำงบการเงิน
1. การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง going concern ผู้บริหารของกิจการต้องประเมินความสามารถของกิจการว่าจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้เป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือนนับจากวันที่ในงบดุลได้หรือไม่ ถ้าได้กิจการควรจัดทำงบการเงินตามหลักเกณฑ์การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แต่ถ้ากิจการมีความตั้งใจที่จะเลิกกิจการ หรือมีความไม่แน่นอนว่าจะดำเนินกิจการได้ต่อเนื่องต่อไปอีก 12 เดือน กิจการต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เช่นกิจการมีผลขาดทุนมากจนทำให้ส่วนของเจ้าของติดลบ หรือกิจการมีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ และกิจการไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น กู้ยืมเงินระยะยาว ขายสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ หรือเรียกหุ้นเพิ่ม ก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้หลักการดำเนินงานต่อเนื่อง

2. เกณฑ์คงค้าง accrual basis เกณฑ์การบันทึกรายได้ และค่าใช้จ่าย ในการวัดผลการดำเนินงานจะยึดเกณฑ์ที่ว่า รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีใดก็ให้บันทึกเป็นรายการในงวดบัญชีนั้น เช่นกิจก่อสร้าง ซื้อวัสดุก่อสร้างเป็นเงินเชื่อ และนำมาก่อสร้างทันทีค่าใช้จ่ายก็คือวัสดุต่อสร้าง ส่วนที่สร้างทันทีก็ต้องบันทึกเป็นงานระหว่างทำกับรายได้ตามส่วนงานที่เสร็จ

3. ความสม่ำเสมอ consisitency การจัดทำและนำเสนองบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป ต้องมั่นใจว่างบการเงินสามารถเปรียบเทียบกันได้กันงบการเงินงวดก่อนของกิจการ และกับงบการเงินของกิจการอื่นประเภทเดียวกัน การเปรียบเทียบกันได้งบการเงินนั้นต้องจัดทำขึ้นโดยใช้นโยบายบัญชี และการจัดประเภทรายการอย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกันทุกงวดบัญชี ยกเว้น ลักษณะการดำเนินงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างเป็นสาระสำคัญ การเปลี่ยนแปลงการแสดง และจัดประเภทรายการ เกิดจากข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงใหม่ หรือการตีความมาตรฐานการบัญชีทุกประเด็น มีผลกระทบต่อการจัดประเภทของบัญชีของงวดบัญชีก่อนให้เหมาะสมกับงวดบัญชีปีปัจจุบัน ตัวอย่างในงวดบัญชีก่อนมีลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระมีจำนวนน้อยที่แสดงในลูกหนี้การค้า ต่อมากิจการได้มีการส่งเสริมการขายแบบผ่อนชำระในปีปัจจุบัน จึงทำให้มีลูกหนี้การขายผ่านชำระเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นสาระสำคัญ จึงควรแยกแสดงลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระเป็นรายการอิสระจากลูกหนี้การค้าในงบดุลปีปัจจุบัน งบดุลปีก่อนจึงต้องแสดงแยกรายการลูกหนี้จากการขายผ่อนชำระออกจากลูกหนี้การค้าเช่นเดียวกับงบดุลในปีปัจจุบัน

4. ความมีนัยสำคัญและการรวมยอด materialitiy and aggegation งบการเงินเป็นผลของการรวบรวมรายการบัญชีด้วยการจัดกลุ่มเข้าตามลักษณะ และหน้าที่ของรายการนั้น ๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กระชับดูสบายตา และจัดเป็นรายบรรทัดเพื่อแสดงในงบการเงินหรือแสดงรายละเอียดของบัญชีที่มีลักษณะ และหน้าที่แบบเดียวกันในกลุ่มเดียวกัน พร้อมทั้งอ้างอิงเลขหมายของหมายเหตุประกอบงบการเงินที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องตรงกัน กิจการควรเลือกแยกแสดงรายการสำหรับรายการบัญชีที่มีนัยสำคัญ เช่นพิจารณาจากขนาด และลักษณะของรายการไปพร้อมกัน โดยพิจารณาอิทธิพบต่อการตัดสินเชิงเศรษฐกิจของผู้ใช้งบการเงิน อย่างเช่น สินทรัพย์ที่มีลักษณะเดียวกันก็ให้แสดงรวมกัน แต่ถ้าหากสินทรัพย์มีขนาดและลักษณะแตกต่าง จนมีนัยสำคัญก็ควรแสดงแยกอิสระออกจากกัน

5. การหักกลบ offsetting การแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สิน ในงบดุล หรือ รายได้ และค่าใช้จ่าย ในงบกำไรขาดทุน จะนำมาหักกลบลบกันไม่ได้ เช่น นาย ก.เป็นทั้งลูกหนี้ และเจ้าหนี้ ในขณะเดียวกัน กิจการจะนำรายการทั้ง 2 หักกลบลบกันไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด เว้นแต่เป็นรายการที่มีมาตรฐานการบัญชีกำหนดไว้ หรืออนุญาตให้กระทำได้ตามกฎหมาย เช่นนำบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไปแสดงหักจากบัญชีลูกหนี้ที่เกี่ยวข้อง กระทำได้เพราะมาตรฐานบัญชีมีกำหนด

6. ข้อมูลเปรียบเทียบ comparative informations การเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตัวเลขของรายการในงบการเงินงวดปัจจุบันกับงบการเงินงวดก่อน โดยแสดงข้อมูลเปรียบเทียบทุกรายการที่มีนัยสำคัญโดยให้ยึดงบการเงินของงวดปัจจุบันเป็นหลัก เพื่อความเหมาะสมถูกต้องกิจการต้องปรับปรุงหรือแก้ไขการแสดงประเภทรายการของงบการเงินปีก่อนให้สอดคล้องกับงบการเงินปีปัจจุบัน และให้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินของปีปัจจุบัน แต่ถ้าหากไม่สามารถจัดประเภทบัญชีให้เข้ากับงบการเงินงวดปัจจุบันควรเปิดเผยถึงเหตุผลที่ไม่สามารถจัดประเภทรายการให้เข้ากับงบการเงินงวดปัจจุบัน

งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี อาจจะเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
1. งบดุล (Balance Sheet)
2.งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
3.งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
4.งบกระแสเงินสด ( Cash Flow statement)
5.หมายเหตุประกอบเงินการเงิน (Note to Financial Statement)
 
อ่านเพิ่มเติม >> ความเห็นรายงานงบการเงินไม่ถูกต้อง
 
ข้อควรพิจารณาในการจัดทำงบการเงิน การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ข้อควรพิจารณาในการจัดทำงบการเงิน การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )